เหตุใดผลิตภัณฑ์จาก “แร่ใยหินไครโซไทล์” จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินเป็นชื่อสามัญสำหรับแร่ซิลิเกต มีชนิดที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนทีน (ไครโซไทล์) และ แอมฟิโบล (คลอซิโดไลท์, อะโมไซท์, แอนโธฟิลไลท์, ทรีโมไลท์, และ แอคทิโนไลท์)

แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์มีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมาก สามารถพบได้ตามธรรมชาติเพราะเป็นชั้นหินที่อยู่บนพื้นผิวโลกของเรา สามารถละลายได้ในกรดไฮโดรคลอริก ทำให้ปลอดภัยในการนำมาใช้งานมากกว่า

แตกต่างจากแร่ใยหินแอมฟิโบลเป็นกลุ่มของไฮโดรซิลิเกตที่มีความซับซ้อนของแมกนีเซียม เหล็ก และแคลเซียม มีโครงสร้างของผลึกจับกันเป็นสายโซ่คู่ เป็นแท่งปริซึม เหมือนเข็ม ไม่มีความยืดหยุ่น ทนต่อการกัดกร่อนของกรด เมื่อมีการแตกตัวจะกลายเป็นเศษแหลม ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันจึงได้มีการห้ามให้ใช้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ที่ตอนนี้จะใช้อยู่เพียงแค่ชนิดไครโซไทล์ที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และออกคำแนะนำให้ควบคุมความเข้มข้นของไครโซไทล์ที่ไม่เกิน 1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม.

บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและไทย มีกฎหมายควบคุมความเข้มข้นของปริมาณใยหินอยู่ที่ไม่เกิน 0.1 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ในสถานที่ที่คนงานต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง

ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของคนงานก่อสร้างที่ต้องมีการสัมผัสกับแร่ไครโซไทล์พบว่า ปริมาณมากที่สุดที่พบมีแค่ 0.06 ไฟเบอร์ต่อลบ.ซม. ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และนับได้ว่าเป็นการทำงานอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาตร์แห่งรัสเซีย สาขาทรัพยากรแร่ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า แร่ใยหินไครโซไทล์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถละลายได้ในกรด จึงสามารถละลายได้ง่ายเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ นอกจากนี้เส้นใยจะถูกขับออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และด้วยลักษณะเส้นใยที่เรียบ อ่อนนุ่ม และยืดหยุ่นของแร่ใยหินไครโซไทล์ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อภาวะที่จะทำให้ปอดได้รับการบาดเจ็บ

จากทั้งผลการวิจัยของรัสเซียที่สรุปได้ว่าเส้นใยของแร่ไครโซไทล์สามารถละลายได้ในกรด ต่อให้เล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายก็สามารรถละลายเองได้อย่างไม่เป็นอันตราย ขณะที่ในกระบวนยการติดตั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นที่เกิดกว่ามาตรฐาน และไม่มีฝุ่นเล็ดลอดออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านความรู้เรื่องแร่ไครโซไทล์ ได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand

Please follow and like us:

ใยหินกับศาลสหรัฐ

ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้อง

ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)

ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน

TSCA

นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล

ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)

สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ

อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)

3518ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า

โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด

บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก

 

ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349

**********************************************

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ความแตกต่างของผลกระทบทางสุขภาพจากเส้นใยชนิดต่างๆ

ฝุ่นใยหินชนิดอะโมไซท์และโครซิโดไลท์เมื่อเข้าไปในปอดเปรียบเทียบกับเส้น ใยไครโซไทล์ โอกาสเกิดโรคจะมีมากกว่า 100 และ 500 เท่าตามลำดับ สำหรับโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมากกว่า 10 และ 50 เท่า ตามลำดับ สำหรับมะเร็งปอด การที่อันตรายมาก-น้อยต่างกันสาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างและความ สามารถในการละลายตัว (biodurability) ของเส้นใยหินแต่ละชนิด ดังมีข้อความในรายงานของ EPA ตอนหนึ่งที่ยกมาแสดงข้างใต้ Read More

Please follow and like us:
แร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วม สูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วมสูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

“ตอนประกาศยกเลิกการใช้แร่ใยหินเมื่อสิบปีที่แล้ว พวกเราคิดว่ามันไมได้มีผลอะไรกับพวกเรา แต่ตอนนี้ มันได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมาย จึงไม่อยากให้เกษตรกรไทยผิดพลาดเช่นนี้อีก” มร.ไบรอัน เอดจ์ลี ประธานกลุ่มสหภาพเกษตรกรแห่งชาติฯ Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

‘ผู้เลี้ยงสุกร’วอนรบ.ทบทวนเลิก’แร่ใยหิน’

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า กรณีการยกเลิกแร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ทาให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีความกังวลต่อมาตรการดังกล่าว เนื่องจากฟาร์มเลี้ยงสุกรโดยทั่วไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นวัสดุในการทาโรงเรือนแทบทั้งสิ้น Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

งานศึกษาวิจัยชิ้นต่างๆที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วในช่วงประมาณสามสิบปี ต่างสรุปว่าไม่สามารถวัดระดับความเสี่ยง ที่เกิดจากการใช้ไครโซไทล์ได้

งานศึกษาวิจัยชิ้นต่างๆที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วในช่วงประมาณสามสิบปี ต่างสรุปว่าไม่สามารถวัดระดับความเสี่ยง ที่เกิดจากการใช้ไครโซไทล์ได้ เมื่อระดับความเข้มข้นในอากาศอยู่ในระดับมาตรฐาน คือ ≤ 1 เส้นใย / ลบ.ซม. (≤ 1FIBER /CC)
ซึ่งข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

การใช้ข้อมูลบางส่วนในรายงาน CONCHA-BARRIENTOS (2004) เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ข้อมูลที่จงใจนามาอ้างอิงไม่ครบ

  •  กว่า 125 ล้านคนสัมผัสกับแร่ใยหินในสถานที่ทางาน จากการประเมินต่างๆ ในแต่ละปี ประชาชนอย่างน้อย 90,000 คน เสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่แร่ใยหินนั้นมีส่วนมาเกี่ยวข้อง Read More
Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ความแตกต่างระหว่าง เรื่องโกหก กับ ความจริง

ระหว่างข้อมูลสถิติที่อนุมานเอาและตัดตอนนามาเพื่อการอ้างอิงเพียงบางส่วน กับ ความจริงของอุตสาหกรรมไครโซไทล์ จะแสดงชัดเจนว่าในโลกเรายังมีการรับรู้ที่ผิดๆและการจงใจก่อให้เกิดความกลัวเกินจริงโดยนักรณรงค์การห้ามใช้แร่ใยหินทุกชนิดอย่างสิ้นเชิงที่คอยป้อนข้อมูลครึ่งจริงให้โดยไม่มีการแบ่งแยกความแตกต่างกันของแร่ใยหินแต่ละชนิด และไม่ได้พิจารณางานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ดาเนินการวิจัยกันในทศวรรษที่ผ่านมา Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

กฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

กรณีศึกษาของประเทศไทย

การนำเข้าใช้และเก็บ รักษาใยหินจะอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยใยหินชนิดโครซิโดไลท์ได้ถูกสั่งห้ามนำเข้า เนื่องจากเป็นวัตถุที่มีอันตรายตาม พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังมีพรบ. คุ้มครองแรงงานของกระทรวงแรงงานอีกฉบับหนึ่งที่ควบคุมเกี่ยวกับใยหิน ซึ่งทั้งหมดแสดงว่าในประเทศไทยมีมาตรการและกำหนดมาตรฐานเพื่อคุ้มครอง สุขภาพของคนงาน
กฎหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน Read More

Please follow and like us: