ใยหินกับศาลสหรัฐ

ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้อง

ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)

ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน

TSCA

นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล

ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)

สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ

อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)

3518ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า

โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด

บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก

 

ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349

**********************************************

Please follow and like us:
ยืนยันจากผู้ใช้จริง แร่ใยหิน

ยืนยันจากผู้ใช้จริง!!…

ผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินไครโซไทล์ อยู่คู่ชุมชนและคนไทยทั่วประเทศมากว่า 70ปี …….. พิสูจน์แล้วจากผู้ใช้จริง…. Read More

Please follow and like us:
สังคมไทยกับกระเบื้องแร่ใยหินไครโซไทล์

สังคมไทยกับกระเบื้องแร่ใยหินไครโซไทล์

“ผมทำอาชีพมุงกระเบื้องมากว่า 20 ปี ทำงานอยู่กับกระเบื้องทุกวัน จับกระเบื้องใยหินทุกวันผมไปตรวจสุขภาพก็ไม่เคยว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะมุงกระเบื้องใยหินนะ 

ลูกน้องผม 12 คนก็ไม่เคยป่วยเพราะสารใยหิน ขั้นตอนเวลามุงกระเบื้องใยหิน ก็จะมุงเลยหัวแปรประมาณ 5 ซม. มุงทั้งแผ่นเป็นแถวยาวขึ้นไปเลย ไล่เต็มไปไม่ได้ตัดมุม Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ปลอดภัยไว้ก่อน

สมชัย บวรกิตติ

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

ในบทความ “มุมมองบ้านสามย่าน” ของคุณปกรณ์ เลิศสเถียรชัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๑๐ มกราคม พ.. ๒๕๕๖ หน้า ๑๑ มีข้อคิดข้อแนะนำที่ดี น่าสนใจ ผมจึงขอเขียนมาร่วมวงด้วย เพราะผมอาจถูกพาดพิง แม้ไม่ตรงเผงก็เฉียดมาก Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

โต้กันแหลก ‘เลิกแร่ใยหินไครโซไทล์

ชี้ภาคอุตสาหกรรม-ปศุสัตว์แบกภาระอ่วม 5 แสนล้าน

ประชาชาธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2555
4 องค์กรฟื้นปมยกเลิกใช้ ‘แร่ใยหินไครโซไทล์’ หวั่นภาคเกษตร อุตสาหกรรม ครัวเรือน แบกภาระอ่วมกว่า 5 แลนล้านบาท หลังสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติย้อนรอยบทเรียนในอังกฤษหลังปล่อยให้บังคับใช้กฎหมาย ผู้ขาย ร้านค้าปลีก เดือดร้อนถ้วนหน้า Read More

Please follow and like us:
แร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วม สูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

บทเรียนราคาแพง!! เกษตรกรอังกฤษอ่วมสูญ 6 พันล้านปอนด์ ยกเลิกแร่ใยหิน

“ตอนประกาศยกเลิกการใช้แร่ใยหินเมื่อสิบปีที่แล้ว พวกเราคิดว่ามันไมได้มีผลอะไรกับพวกเรา แต่ตอนนี้ มันได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมาย จึงไม่อยากให้เกษตรกรไทยผิดพลาดเช่นนี้อีก” มร.ไบรอัน เอดจ์ลี ประธานกลุ่มสหภาพเกษตรกรแห่งชาติฯ Read More

Please follow and like us:
แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน

แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิต เพราะ…..แร่ใยหิน!!

แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิตเพราะ…..แร่ใยหิน!!

“ทีแรกรู้สึกดีใจว่าวงการแพทย์ไทยจะได้พบโรคเหตุใยหินจริงจังเสียที แต่เมื่อได้อ่านรายงานที่อ้างในวารสารแล้ว จึงมีความเห็นว่า ข้อมูลของผู้ป่วย ที่วินิจฉัยว่าเสียชีวิตจากแร่ใยหินนั้น เป็นแต่เพียงมีประวัติเคยทำงานในโรงงาน ใช้ใยหินเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าโรคที่มีสาเหตุจากใยหิน ดังนั้นจะไม่ขอรับว่าผู้ป่วย ๒ รายนั้นเป็นโรคเหตุใยหิน” Read More

Please follow and like us:
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรค้านยกเลิกใช้แร่ใยหิน

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรค้านยกเลิกใช้แร่ใยหิน

สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ห่วงการเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ หวั่นกระทบคนจนและเกษตรกร ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ในขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันไม่พบปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตจากแร่ใยหินไครโซไทล์ในไทย
Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

คำถามที่พบบ่อย

1 – เส้นใย ไครโซไทล์ คืออะไร

เส้นใยไครโซไทล์ เป็นเส้นใยประเภทหนึ่ง ของใยหินใยหินเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม มีคุณสมบัติทางเคมีต่างกันมาก ได้แก่

เส้นใยแอมฟิโบล เป็นเส้นใยเดี่ยวรูปทรงกระบอก มีคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (biopersistent) สูง ระยะเวลาย่อยสลาย 50% มากกว่า 900 วัน จึงเป็นอันตรายมาก
เส้นใยไครโซไทล์ เป็นเส้นใยยาวคล้ายเส้นไหม มีคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (biopersistent) ต่ำ ระยะเวลาย่อยสลาย 50% น้อยกว่า 14 วัน จึงเป็นอันตรายน้อยมาก Read More

Please follow and like us: