ไขข้อกังวลใจเกี่ยวกับปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการติดตั้ง รื้อถอน กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์ รวมถึงกรณีที่กระเบื้องแตกหัก หรือมีการทุบทำลาย
แร่ไครโซไทล์เป็นอันตรายจริงหรือไม่? สามารถหาคำตอบได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้
chrysotile แร่ไครโซไทล์
ไขข้อกังวลใจเกี่ยวกับปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการติดตั้ง รื้อถอน กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์ รวมถึงกรณีที่กระเบื้องแตกหัก หรือมีการทุบทำลาย
แร่ไครโซไทล์เป็นอันตรายจริงหรือไม่? สามารถหาคำตอบได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ “ปฏิเสธคำร้อง”
ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)
ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน
นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล
ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)
สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว
“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ
อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)
ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า
โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด
บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก
ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว
แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349
**********************************************
เรือขนส่งวัสดุก่อสร้างไปลาวล่มกลางลำน้ำโขง
บทพิสูจน์ความคงทนของกระเบื้องมุงหลังคาที่มีใยหินยังแข็งแกร่ง
คงทนใช้งานได้ดังเดิมแม้แช่อยู่ในน้ำกว่า 1 วัน
ในขณะที่กระเบื้องปลอดใยหิน ซึมน้ำ เปื่อยยุ่ย เสียหายหนัก
เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุเรือขนส่งสินค้าชนโขดหิน ทำให้เรือล่มกลางลำแม่น้ำโขง ขณะเดินทางไปยังหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้เรือขนส่งสินค้าดังกล่าว บรรทุกวัสดุก่อสร้าง อาทิ ปูน กระเบื้องมุงหลังคาจากหลายยีห้อ ทั้งทีเป็นกระเบื้องผสมใยหินธรรมชาติ และที่ปลอดใยหิน อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้สินค้าทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลากว่า 1 วัน จึงสามารถเก็บกู้ได้ ปูนซิเมนต์ เปียกน้ำเสียหายหมด แต่ที่น่าทึ่งคือกระเบื้องมุงหลังคาชนิดที่มีส่วนผสมของใยหินธรรมชาติยังมีสภาพดังเดิม เพียงล้างทำความสะอาดเอาคราบโคลนออกก็สามารถนำไปใช้งานได้ ในขณะที่ กระเบื้องปลอดใยหินเมื่อนำขึ้นมา จากน้ำ พบว่ามีสภาพเปื่อยยุ่ย เนื่องจากถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานและโครงสร้างเป็นเยื่อกระดาษ ทำให้แตกหักได้ง่ายและเสียหายจำนวนมาก
ภาพชาวบ้านช่วยกันขนสินค้าที่จมอยู่ในน้ำขึ้นมาจากอุบัติเหตุการขนส่งทางเรือ
สภาพหลังจากเก็บกู้ พบว่ากระเบื้องปลอดใยหินเมื่อถูกน้ำหรือความชื้น จะแตกหักง่าย เปื่อย ยุ่ย อย่างเห็นได้ชัดเจน
ในขณะที่กระเบื้องที่มีใยหินธรรมชาติผสมอยู่ คนงานเพียงล้างทำความสะอาดคราบโคลนก็สามารถนำไปใช้งานได้
เรื่อง โปรดพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา Read More
สกู๊ปหน้า 1 ปุจฉาแร่ใยหินขาว มหัตภัยแร่ใยหิน
“มหันตภัยแร่ใยหิน” ยังเป็นประเด็น ชวนให้ติดตามเพราะดูเหมือนว่า ถ้าเมื่อใดที่มีคำว่า…“แร่ใยหิน”…อย่างไรเสียก็ยังน่ากลัว เป็นแร่ธรรมชาติ ที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์อยู่ดี Read More
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 56 ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชนกว่า 500 คน ร่วมชุมนุม ณ วัดหลักสองราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสนับสนุนการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างปลอดภัยและจัดสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในชุมชน Read More
กรณีคดีความแร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลในประเทศอิตาลี (เอกสารประกอบ 2) Read More
จดหมายชี้แจง กรณีคดีความแร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลในประเทศอิตาลี Read More
โดย : สมชัย บวรกิตติ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
ในบทความ “มุมมองบ้านสามย่าน” ของคุณปกรณ์ เลิศสเถียรชัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 หน้า 11 มีข้อคิดข้อแนะนำที่ดี น่าสนใจ ผมจึงขอเขียนมาร่วมวงด้วย เพราะผมอาจถูกพาดพิง แม้ไม่ตรงเผงก็เฉียดมาก Read More