ใยหินกับศาลสหรัฐ

ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้อง

ของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)

ในการห้ามการใช้แร่ใยหิน

TSCA

นับเป็นความพยายามอย่างไร้เหตุผล

ในการผลักดันแร่ใยหินทุกชนิด ให้อยู่ในกฏหมายการควบคุมสารเคมี (TSCA)

สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) มีความพยายามที่จะกำหนด ให้แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารเคมีต้องห้ามมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

“แร่ใยหิน” เคยเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและยังเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ได้แก่ กระเบื้องหลังคา กำแพง ฉนวนความร้อน แผ่นกระเบื้อง รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงยานอวกาศ

อย่างไรก็ตาม แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลถูกนำมาใช้น้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิด ปัญหาทางสุขภาพ เมื่อสูดลมหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดจากแร่ใยหิน และ มะเร็งเยื่อหุ้มปอด (ทั้งนี้ แร่ใยหินกลุ่มแอมฟิโบล มีลักษณะเป็นเส้นยาวและบาง สามารถฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้)

3518ในปี ค.ศ.1991 สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA) จึงเสนอให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทั้งหมด ทั้งๆ ที่ในสหรัฐอเมริกา มีความนิยมในการใช้แร่ใยหินกลุ่มไครโซไทล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่สั้นกว่าและหนากว่า มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้น้อยกว่า

โดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้พิเคราะห์ถึงคำร้องของ สำนักงานป้องกัน สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาและได้ให้คำตอบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า “เราสามารถทำเช่นนั้นได้และเราก็ทำอยู่” ในการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัยจึง ปฏิเสธคำร้องที่ให้มีการสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินของ EPA

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าเบรกในรถยนต์ โดยศาลได้ชี้แจงว่าข้อเสนอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ที่ห้ามไม่ให้ใช้แร่ใยหินในการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ นั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย ทำให้อัตราการเบรกล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนจำนวนมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แร่ใยหินในกลุ่มไครโซไทล์ที่สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ต้องการจะให้เป็นสารเคมีต้องห้ามนั้น เป็นส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผ้าเบรกฃซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ รับการสัมผัสแต่อย่างใด

บทความของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพสหรัฐอเมริกา (ACSH) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ความเสี่ยงของช่างยนต์และคนงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตที่ใช้ใยหินเป็นส่วนประกอบได้มีการวางระบบการจัดการอย่างดี จึงมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก

 

ผ้าเบรกในรถยนต์มีส่วนผสมของแร่ไครโซไทล์เพื่อช่วยให้ระบบเบรกทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ศาลได้ระงับยับยั้งคำขอของสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ไว้เนื่องจากผู้แทนของสำนักงานฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารเคมี (TSCA) ที่ระบุว่า ผู้แทนจะต้องเลือกกำหนดกฎเกณฑ์ที่สร้าง “ความยุ่งยากน้อยที่สุด” เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย โดยศาลอธิบายว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร่ใยหินที่เสนอขึ้นมานั้นยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง : http://nochrysotileban.com/archives/349#more-349

**********************************************

Please follow and like us:
สกู๊ป เสียงจากประชาชนวอนรัฐบาลทบทวนอีกครั้ง กรณี ยกเลิกแร่ใยหินในกระเบื้องมุงหลังคา

สกู๊ป เสียงจากประชาชนวอนรัฐบาลทบทวนอีกครั้ง กรณี ยกเลิกแร่ใยหินในกระเบื้องมุงหลังคา

สกู๊ป เสียงจากประชาชนวอนรัฐบาลทบทวนอีกครั้ง กรณี ยกเลิกแร่ใยหินในกระเบื้องมุงหลังคา

Read More

Please follow and like us:

WHA ยัน แร่ใยหินไครโซไทล์ปลอดภัย

ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ยืนยันนำไปใช้ได้หอย่างปลอดภัย พร้อมแสดงข้อมูลที่ประชุมใหญ่สมัชชา องค์การอนามัยโลก (WHA) มีมติยอมรับว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศยังระบุว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย Read More

Please follow and like us:

CIC ออกโรงแจงข้อเท็จจริง แร่ใยหินไครโซไทล์ปลอดภัย

นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (CIC) เปิดเผยว่า ตนเองมีวามจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจ้งข้อเท็กจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ Read More

Please follow and like us:
ศูนย์ ไครโซไทล์ ยัน แร่ใยหิน ปลอดภัย

ศูนย์ ไครโซไทล์ ยัน แร่ใยหิน ปลอดภัย

นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (CIC) เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ขอชี้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ยืนยันว่าสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

จับตายื้อเวลาบังคับใช้ก.ม.ห้ามนำเข้า-ผลิตแร่ใยหิน

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สุชาดา นิ่มนวล

ปัจจุบันอันตรายจากการใช้แร่ใยหิน
ที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุก่อสร้าง ยังคงสร้างความเคลือบแคลงใจและความเดือดร้อนให้กับหลายฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ ทั้งฟากของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง Read More

Please follow and like us:
Chrysotile แร่ใยหิน

ประชุมแร่ใยหินไร้ผลข้อมูล’สุขภาพ’ไม่ชัด

มติชน ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ สธ.ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ โดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก Read More

Please follow and like us: